พระนางศรีสระเกศ

 

พระนางศรี เป็นคนสัญชาติกล๋อม(ขอมแท้) ตามตำนานสัญนิษฐานว่าเป็นราชธิดาของท้าวสุริยวรมันกับพระนางพิณสวัณคราวดี ตำแหน่งเป็นอุปราชครองพิมานมงคลในแคว้นโคตรบูร พระนางศรี เป็นผู้อำนวยการสร้างปราสาทสระกำแพง เป็นผู้รู้วิชานาฏศิลป์ ชำนาญการฟ้อน ทรงเป็นครูฝึกหัดการฟ้อนรำ ทรงเป็นประธานในพิธีถวายเทวาลัยปราสาทสระกำแพง พระนางศรีได้เข้าพิธีสรงสนาน ลงอาบน้ำสระผมในสระกำแพง แต่งองค์ทรงเครื่องเต็มยศสวยงาม มีดนตรีบรรเลง ทรงฟ้อนรำบวงสรวงเดี่ยวหน้าเทวรูปพระวิษณุ อันเชิญเทพเจ้าผู้ทรงฤทธาศักดานุภาพมารับมอบเทวาลัยเป็นที่สิงสถิตย์ คนทั่วไปได้เห็นต่างชื่นชมในความงดงาม และถือเอาอาการสระผมของพระนางเป็นนิมิตตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า "สระเกศ" (เกศ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภาน แปลว่า ผม)

 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองใหม่ แยกจากเมืองขุขันธ์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางชายแดนเขมร พระราชทานชื่อเมืองว่า "เมืองศรีสระเกษ" เพื่อเป็นการให้เกียรติและเป็นอนุสรณ์แก่พระนางศรีสระเกศ

 

รูปหล่อพระนางศรีสระเกศ (เดิมเรียก "พระนางศรีสระผม") สร้างด้วยโลหะทองเหลืองรมดำ ขนาดเท่าคนจริง ออกแบบโดยอาจารย์พจน์ หวลมานพ แห่งวิทยาลัยเพาะช่างกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณใกล้ๆสถานีรถไฟจังหวัดศรีสะเกษ ได้ทำพิธีอัญเชิญพระนางศรีสระเกศประดิษฐานบนแท่น เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๔

 

 ท้าวสหัสนัยน์  ยักษ์หน้าประตุทางเข้า

 

ภาพถ่ายประกอบโดย : สุวิวัฒน์  หงษ์สมบัติ