คดีเขาพระวิหาร
ที่ตั้งและสภาพทั่วไปของปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงเล็กหรือดงรัก (ดองแร็กภาษาเขมรแปลว่าภูเขาไม้คา) กั้นพรมแดนไทย-กัมพูชา ตั้งอยู่
บนงอยของเอื้อมผาที่สูงตระหง่าน ไม่อาจหาโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรแห่งอื่นใดจักมีความทัดเทียมได้ เดิมตั้งอยู่ที่บ้านภูมิ
ชร็อล ระหว่างช่องโพย (ตะวันตก) กับช่องทะลาย ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ในราชอาณาจักรไทย
ลำดับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร
- แผนที่อินโดจีนของชาแบร็ต แอล กัลลัง ซึ่งพิมพ์ก่อนการดำเนินงานของ คณะกรรมการผสมอ้างที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444
แสดงว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตสยาม
- แต่แผนที่ทางโบราณคดีของลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์ ในปี พ.ศ. 2444 ตีพิมพ์เรื่องบัญชีทะเบียนโบราณสถาน ในปี พ.ศ. 2447
ได้ยืนยันว่า การปักปันเขตแดนครั้งสุดท้าย ทำให้เปรียะวิเชียรหรือเขาพระวิหารตกมาเป็นของฝรั่งเศส
- แต่ในช่วงเวลานี้ราชอาณาจักรสยามยังใช้อำนาจปกครองเขาพระวิหารต่อไป
- 11 ต.ค. 2483 กรมศิลปากรของราชอาณาจักรไทย (เปลี่ยนจากสยามในช่วงนี้) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร
เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ต่อมา 4 ธ.ค. 2502 ไทยประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานแห่งชาติอีกครั้งพร้อมทั้ง
มีแผนที่แสดงปราสาทเขาพระวิหารแนบท้าย
- ปี พ.ศ 2492 ฝรั่งเศส ริเริ่มและด้วยความเห็นชอบของกัมพูชาได้มีการคัดค้านอำนาจอธิปไตยของไทย เหนือเขาพระวิหารอย่าง
เปิดเผยเป็นครั้งแรก ฝรั่งเศสประท้วงว่าไทยไม่ควรส่งคนไปรักษาปราสาทเขาพระวิหาร
- กัมพูชาเริ่มเรียกร้องให้เขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชา เริ่มเป็นทางการ พ.ศ. 2501
- 1 ธ.ค. 2501 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตกับไทย
- 6 ต.ค. 2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกขอให้ศาลวินิจฉัยให้ราชอาณาจักรไทยถอนกำลังหรือ
อาวุธออกจากบริเวณเขาพระวิหาร และขอให้ศาลชี้ขาดว่าอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา
ปัญหาที่เกี่ยวกับการปักปันเส้นเขตแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะ
- รัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเทคนิคของการสำรวจพื้นที่ที่ดีพอหรือไม่สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เพื่อตรวจว่าเส้นเขตแดนปัจจุบันถูก
ต้องตรงตามที่ตนได้ทำความตกลงไว้หรือไม่
- รัฐที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของงานในด้านอื่นมีความสำคัญกว่า
- รัฐที่มีดินแดนติดต่อกันยังไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองออกได้อย่างชัดเจน
- คดีปราสาทเขาพระวิหาร มาจากผลสืบเนื่องของอนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
- ตามข้อกำหนดในอนุสัญญา ค.ศ. 1904 ( พ.ศ. 2447) ข้อ 1 และข้อ 3 กำหนดไว้ดังนี้
"ข้อ 1 เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับกประเทศกัมพูชาเริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาปจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส
.ฯลฯ
จนถึง
ทิวเขาดงรัก จากที่นั้นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขงด้านหนึ่งกับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง
."
"ข้อ 3 ให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับดินแดนที่ประกอบเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส การปักปันนี้ให้กระทำโดย<
คณะกรรมการผสมประกอบด้วยพนักงานซึ่งประเทศภาคีทั้งสองแต่งตั้ง งานของคณะกรรมการจะเกี่ยวกับเขตแดนส่วนที่กำหนดไว้ในข้อ 1
และข้อ 2
."
คณะกรรมการผสมได้ดำเนินการปักปันเส้นเขตแดนจนเกือบจะแล้วเสร็จ แต่สยามกับฝรั่งเศสได้ชิงลงนามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1907 ไปก่อน
จึงยังไม่ได้มีการทำแผนที่สมบูรณ์ให้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายลงนามรับรองแต่อย่างใด ต่อมาฝรั่งเศสได้ดำเนินการตีพิมพ์แผนที่ซึ่งรัฐบาล
สยามยังไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการนั้น โดยได้จัดพิมพ์แต่เพียงฝ่ายเดียวที่กรุงปารีส แล้วจึงส่งแผนที่จำนวน 11 ท่อน มาให้รัฐบาล
สยามในจำนวนนี้มีแผนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับดินแดนบริเวณเขาพระวิหารด้วยฉบับหนึ่ง รัฐบาลสยามมิได้รับรองแผนที่ดังกล่าวไว้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร แผนที่ดังกล่าวกำหนดเส้นเขตแดนบนภูเขาดงรักเรียกว่า "แผ่นดงรัก" (ไทยประท้วงว่าไม่ได้ผ่านความเห็นชอบและการ
พิจารณาของคณะกรรมการผสม) ดังนั้น หากยึดตามอนุสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) ก็จะต้องกำหนดตามเขตแดนธรรมชาติคือ
สันปันน้ำ ซึ่งไทยยืนยันว่าสันปันน้ำปันเขาพระวิหารมาไว้ในอาณาเขตไทย แต่แผนที่ทำขึ้นกำหนดปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในกัมพูชา
- กัมพูชาอ้างว่าต้นฉบับแผนที่นี้พิมพ์โดยอาศัยอำนาจมอบหมายจากคณะกรรมการผสมมีไทยฝรั่งเศส ได้มีการส่งแผนที่ไปให้รัฐบาล
สยามจำนวน 50 ฉบับ เสนาบดีมหาดไทยทรงตอบรับใน พ.ศ. 2451 กับขอเพิ่มอีก 15 ชุด เพื่อไปแจกจ่ายแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องการอ้างอธิปไตยของคู่กรณีเหนือดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้ง
ของซากปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่บนเทือกเขา ซึ่งเป็นผืนดินที่ต่อเนื่องออกไปจากแผ่นดินของประเทศไทยในบริเวณเทือกเขาดงรักและ
หักลงสู่พื้นที่ราบลุ่มในกัมพูชา ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับเขาพระวิหารมาก
ก่อนหน้าที่กัมพูชาจะเสนอข้อพิพาทนี้ สนธิสัญญา พ.ศ. 2410 ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ได้แบ่งเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนให้
อยู่ต่ำกว่าบริเวณซากปราสาทพระวิหาร ต่อมาฝรั่งเศสเห็นว่าการปักปันเส้นเขตแดนยังไม่ดีพอ
ประเด็นสำคัญ
ศาลโลกจะต้องพิจารณาคือการจัดพิมพ์แผนที่ดังกล่าวโดยการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสมีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐภาคีหรือไม่ เพียงใดและกัมพูชาจะมีอธิปไตยเหนือดินแดนที่เป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหารหรือไม่ ศาลได้ลงนามเห็นว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดน ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระวิหาร โดยอาศัยเหตุผล 2 ประการ ดังต่อไปนี้
1.ผลผูกมัดของแผนที่ภาคผนวกที่ 1 ได้แก่ คุณค่าในตัวเองของแผนที่ ความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นในแผนที่และคุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี
1.1 คุณค่าของแผนที่ในตัวเอง มีการตั้งคณะกรรมการปักปันเส้นเขตแดนผสม ชุดที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปักปันเส้นเขตแดนในเทือกเขาดงรักด้านตะวันออกรวมทั้งเขา พระวิหารด้วย แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการชุดที่ 2 นี้ไม่เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเป็น เส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารอีก การกระทำนี้อาจจะตีความในทางกลับได้ว่า คณะกรรมการผสมชุที่ 2 เห็นว่าเส้นเขตแดนที่ถูกปักปันขึ้นตามอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั้นมีความชัดเจนอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องปักปันซ้ำอีก ศาลเห็นว่าแผนที่ของภาคผนวกที่ 1 เป็นเพียงคณะกรรมการชุดที่ 1 มีการปักปันเช่นกันแต่ยังไม่เสร็จซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการชุดที่ 1 และไม่มีเอกสารทางราชการอื่นใดที่อาจพิสูจน์ได้ ว่าแผนที่ภาคผนวกที่ 1 นั้น เป็นผลงานโดยชอบของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ศาลจึงสรุปว่าในระยะเริ่มแรกในขณะที่แผนที่ได้ทำขึ้น (ค.ศ. 1907) แผนที่นั้นไม่มีลักษณะที่จะผูกมัดรัฐภาคี
1.2 ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแผนที่ ศาลโลกยอมรับว่า แผนที่ภาคผนวกที่ 1 คลาดเคลื่อนไปจากแนวเส้นสันปันน้ำที่อนุสัญญา ค.ศ. 1904 กำหนดเอาไว้ อย่างหรก็ดี ถึงแม้ว่าการปักปันเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวกที่ 1 จะมิได้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือ "รัฐบาล มีอำนาจที่จะรับรองผลของการปักปันเส้นเขตแดนที่คลาดเคลื่อนจากแนวสันปันน้ำ (ซึ่งอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 บัญญัติไว้) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือการรับรองแผนที่ภาคผนวก 1 โดยรัฐบาลคู่พิพาทเป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ ซึ่งมีผลลบล้างข้อความที่ภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้แต่เดิมในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 นั่นเอง
รัฐบาลสยามมิได้ทักท้วงข้อผิดพลาดดังกล่าว ขณะที่และภายหลังที่ฝรั่งเศสได้ส่งแผนที่ภาคผนวกที่ 1 มาให้สยามพิจารณา จึงไม่อาจอ้าง
เรื่องการทำแผนที่ผิดพลาด โดยนิ่งเฉยและไม่แสดงท่าทีคัดค้าน เส้นเขตแดนทั้งที่ไทยสามารถหลีกเลี่ยงได้ การนิ่งเฉยของไทยนั้นเป็นการกระทำที่มีส่วนก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้นมา
1.3 คุณค่าของแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐภาคี ไทยอ้างว่าไทยไม่เคยให้การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร แก่แผนที่ภาคผนวก
1 เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เพราะไทย รับแผนที่มา 50 ชุด และยังขอเพิ่มเติมอีก 15 ชุดจากฝรั่งเศส เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ข้าหลวง
ประจำจังหวัด ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1909 คณะกรรมการจัดทำแผนที่ประเทศสยามก็ยังได้ประชุมกันที่กรุงเทพฯ เพื่อจัดทำแผนที่
ประเทศสยามฉบับย่อขึ้น โดยใช้แผนที่ภาคผนวกที่ 1 เป็นแม่แบบ ดังนั้น แม้ว่าฝ่ายจะไม่ได้ให้คำรับรองที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่
การประพฤติปฏิบัติของฝ่ายไทยก็ส่อเจตนาที่จะยอมรับโดยพฤตินัยต่อเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารที่ตีพิมพ์ลงในแผนที่ฉบับนี้มา
โดยตลอด ฝ่ายไทยไม่เคยมีปฏิกริยา โต้ตอบเรื่องนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรด้วยเหตุนี้ศาลจึงเล็งเห็นว่าฝ่ายไทย "ได้ให้ความยินยอมโดยการนิ่งเฉยแล้ว" ดังภาษิตลาตินที่ว่า "ผู้ที่เงียบเฉยอยู่ย่อมถือเสมือนได้ว่ายินยอม ถ้าเขามีหน้าที่ที่จะพูดและสามารถที่จะพูดได้"
2.เหตุผลอันดับรอง ท่าทีที่ขัดแย้งกันเองในข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของไทยได้ค้นพบว่ามีความผิดพลาดในการเขียนตำแหน่งของลำน้ำเสนลงในแผนที่แต่มิได้ทำการประท้วงในระดับระหว่างประเทศ ต่อมามีความตกลงระหว่างสยามกับฝรั่งเศส จัดตั้งคณะกรรมการประนอม ทบทวนเส้นเขตแดนหลายจุด ยกเว้นในส่วนที่เป็นข้อพิพาทนี้ อีกประการหนึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของฝ่ายไทยคือกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปสำรวจทางโบราณคดีในเขตของเขาพระวิหาร ฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารรับเสด็จแต่ฝ่ายไทย ก็มิได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อคัดค้านอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร แม้ไทยจะอ้างว่ารัฐบาลของตนมิได้ทักท้วงแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ครอบครองดินแดนส่วนนี้อย่างบริสุทธิ์ใจ คือครอบครองด้วยความเชื่อมั่นว่าดินแดนนี้อยู่ภายใต้อธิปไตยของตนมาโดยตลอดแต่ ศาลโลกเห็นว่า "เป็นการยากที่ศาลจะยอมรับว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะสามารถ ลบล้างท่าทีของรัฐบาลไทยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง"
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคำพิพากษาของศาลโลกได้นำเอาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความของกลุ่มประเทศแองโกล-แซกซอน มาปรับใช้กับคดีนี้
หลักดังกล่าวได้แก่ "หลักทฤษฎีปิดปาก หรือเอสตอปเปิล (Estoppel)" ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานของหลัก
แห่งความบริสุทธิ์ใจ เปิดโอกาสให้คู่ความใช้วิธีนี้ปิดปากฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายหลังให้ข้อขัดแย้งกันเอง ศาลโลกไม่ได้ใช้สำนวนเอสตอบ
เปิลนี้โดยตรง แต่กลับหลีกเลี่ยงไปใช้คำ "Preclusion" แทน
แนวคำถาม-คำตอบคดีเขาพระวิหาร
ถาม
1.จงอธิบายเหตุผลที่ศาลโลกใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินคดีเขาพระวิหาร
ตอบ
- เหตุผลหลัก คือการยอมรับโดยพฤตินัยของฝ่ายไทยต่อแผนที่ภาคผนวก
- เหตุผลรอง คือท่าทีของฝ่ายไทยขัดต่อคำให้การของตนเองและเสริมฐานะให้กับการอ้างอธิปไตยของกัมพูชา
ถาม
2.ปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศสิ้นสุดลงหลังการทำสนธิสัญญาหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ
ปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างประเทศอาจถูกระงับลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีการทำสนธิสัญญาและกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างรัฐ แต่อาจเกิด
ขึ้นอีกได้โดยเฉพาะเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นไม่เอื้ออำนวย เมื่อมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจฯ ระหว่างรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะเส้น
เขตแดนเป็นเครื่องกำหนดอธิปไตยโดยเด็ดขาดของรัฐ แต่การปักปันเส้นเขตแดนอาจไม่ละเอียดพอจึงเปิดโอกาสให้มีการอ้างอธิปไตยและ
ตีความสนธิสัญญาหรือความตกลงจัดเส้นเขตแดนที่รัฐทำขึ้นภายหลังการทำสนธิสัญญาแม่บทนั้นแล้ว
อ้างอิง : ฝ่ายวิชาการ นิติศาสตรมหาบัณฑิต รุ่น 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2546. คดีเขาพระวิหาร.[Online]/available.
URL : http://www.geocities.com/rachai_sut/
|