HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
บทนำ
    
    
    
    
    







Google

 

อันตรายของบุหรี่ทำให้กลายพันธุ์ ถ่ายทอดถึงรุ่นลูกหลาน

ผลวิจัยบุหรี่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางดีเอ็นเอ หรือยีนกลายพันธุ์และสามารถถ่ายทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ เช่น โรคมะเร็ง ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่มายังลูก จะทำให้โอกาสการเป็นมะเร็งของคนรุ่นลูกเร็วกว่ารุ่นพ่อแม่ประมาณ 10 ปี

ศ.นพ.ธันยชัย สุระ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยในปี 2549 ที่รวบรวมผลการศึกษาดีเอ็นเอจากปัญหาการสูบบุหรี่ 38 การศึกษา พบว่าดีเอ็นเอที่ถูกทำลายในคนที่สูบบุหรี่มีมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ และการศึกษายังระบุด้วยว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่เมื่อแต่งงานแล้วจะมีลูกช้ากว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่

อันเนื่องมาจากอสุจิของคนที่สูบบุหรี่จะมีความสามารถในการเจาะผนังไข่เพื่อเข้าไปปฏิสนธิได้น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะในทางการแพทย์ควันบุหรี่ถือเป็นสารเคมีที่มีผลต่อการทำลายดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า Genotoxic

ศ.นพ.ธันยชัย ระบุว่า โดยปกติคนเราจะได้รับสารพิษสารเคมีอยู่ทุกวัน แต่ร่างกายมนุษย์มีกระบวนการซ่อมสร้างดีเอ็นเอในร่างกาย ทำให้ ไม่เกิดปัญหาต่อการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม แต่ถ้าวันใดที่กระบวนการซ่อมสร้างดีเอ็นเอไม่สามารถรับมือกับสารพิษหรือสารเคมีได้ จะทำให้สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนไปจากเดิม

ซึ่งหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่สำคัญก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า ดีเอ็นเอหรือยีนกลายพันธุ์ และสามารถถ่ายทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้ เช่น โรคมะเร็ง ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่มายังลูก

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

 




Last Update :  25 January, 2011