HOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรกHOME หน้าแรก
    
    
    
    
    
    








Google


 
ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ   ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ  ภาวะโลกร้อน 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน

ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ก๊าซมีเทน ( CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )

คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาในบรรยากาศไม่น้อยหน้าประเทศอื่น โดยมีที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า !! ??

ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ( co2) มาจากมนุษย์ประเทศไหนมากที่สุด จากตัวเลขที่ได้สำรวจล่าสุดนั้นเรียงตามลำดับประเทศที่ปล่อยควันพิษของโลกมีปริมาณสะสมมาตั้งแต่ปี 1950 ดังนี้ :-

1. สหรัฐอเมริกา 186,100 ล้านตัน
2. สหภาพยุโรป 127,800 ล้านตัน
3. รัสเซีย 68,400 ล้านตัน
4. จีน 57,600 ล้านตัน
5. ญี่ปุ่น 31,200 ล้านตัน
6. ยูเครน 21,700 ล้านตัน
7. อินเดีย 15,500 ล้านตัน
8. แคนาดา 14,900 ล้านตัน
9. โปแลนด์ 14,400 ล้านตัน
10. คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน
11. แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตัน
12. เม็กซิโก 7,800 ล้านตัน
13. ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตัน

รวมถึงการปล่อยสารซีเอฟซีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่อง ทำความเย็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศทั้งบ้านและรถยนต์

 

 

ในต่างประเทศเองส่วนใหญ่เลิกใช้สารซีเอฟซีกันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสารซีเอฟซีที่ใช้ทั่ว โลก ทราบว่าปีหน้าไทยเองจะยกเลิกเช่นกัน

สารซีเอฟซีนั้นประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณทั้งหมด ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นเพื่อใช้ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น และเครื่องปรับอากาศทั้งในอาคารและในรถยนต์ ร้อยละ 25 ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และร้อยละ 42 ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มองแค่ ตู้เย็นผลิตประมาณปีละ 1.3 ล้านเครื่อง ใช้สารซีเอฟซีประมาณ 260 ตันต่อปี

ยังมีอุตสาหกรรมที่ใช้สารไฮ-โดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เอชซีเอฟ และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนหรือ เอชเอฟซี สามารถทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้เช่นกัน เอชซีเอฟ ทำลายโอโซนได้นาน 5 ปี ส่วนซีเอฟซี ทำลายโอโซนได้นานถึง 25 ปี ส่วนเอชเอฟซี ไม่ทำลายชั้นของโอโซนเพียงแต่ปิดกั้นพลังงานความร้อนเท่านั้น


 
 
 


ประการต่อมาสารคาร์บอนไดออกไซด์ มีการพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากการตัดไม้ ทำลายป่าบนพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ ตรงนี้น่าจะรับฟังได้ เพราะป่าไม้ของไทยถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ จนจะหมดอยู่แล้ว ผลที่เกิดก็คือเนื่อง จากต้นไม้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ตอนมีการสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน และปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในเวลากลางคืน

แต่ที่แนวโน้มน่ากลัวกว่าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียจากรถยนต์ เพราะการพัฒนาประเทศนั้นมีแต่เพิ่มมากขึ้น ในการขับขี่ยานพาหนะ ขณะนี้ประเมินว่ามี 1.88 ล้านคันทั่วประเทศ จะมีก๊าซออกมา 10 กิโลกรัม ต่อเชื้อเพลิง 4 ลิตร หากมีการขับขี่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 4 ลิตรต่อคัน ก็จะปล่อยคาร์บอนไดออก ไซด์ออกมา 18,800 ตัน สำหรับในการผลิต กระแสไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ต้องใช้ถ่านหินหนัก ครึ่งกิโลกรัม ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือ 1.4 กิโลกรัม อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงยังปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศและ เป็นหมอกควันที่ป้องกันแสงอาทิตย์ทั้งยังปิดบังเรือนกระจก ซึ่งจะทำให้บรรยากาศเกิดการเย็นลงได้

ไนตรัสออกไซด์
ไนตรัสออกไซด์จะดูดความร้อน ไว้ได้นับร้อยๆ ปี เพราะโมเลกุลของก๊าซนี้สามารถดูดความร้อนไว้ได้นาน กว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 100 เท่า แต่ไนตรัสออกไซด์ ทำลายโมเลกุลของโอโซนได้น้อยกว่าซีเอฟซีร้อยละ 25 ซึ่งไนตรสออกไซค์พบได้มากที่ปุ๋ยเคมี และถ่านหิน

ก๊าซมีเทน
สาเหตุหลักมาจาก การตัดไม้และการเผาป่า นอกจากนี้การทำนาข้าว การเลี้ยงวัวควาย การถมขยะ การทำเหมืองแร่ และการผลิตถ่านหิน อย่างการปลูกข้าว เกิดก๊าซมีเทน เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในดินเป็นตัวปล่อยมีเทน การเลี้ยงวัวควายก่อให้เกิดมี-เทน เนื่องจากแบคทีเรียใน กระเพาะอาหารของสัตว์กินหญ้าประเภทวัว ควาย แพะ แกะ อูฐ จะย่อยอาหารและปล่อยมีเทนออกมาด้วย

มีการศึกษาพบในแต่ละวันวัว 1 ตัว เรอมีเทนออกมาถึง 0.5 ปอนด์ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาไทยมีวัว ควายประมาณ 11 ล้านตัว แต่ละตัว จะเรอนาทีละหลายครั้ง หากวัวควายเรอเพียงนาทีละครั้ง จะมีปริมาณ ก๊าซมีเทนออกมา 5.5 ล้านปอนด์ มีเทนที่เก็บพลังงานความร้อนเอาไว้ ขณะนี้จะเก็บความร้อนไว้ได้นานกว่า 10 ปี และเก็บความร้อน ไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนสามารถ เก็บพลังงานความร้อนเอา ไว้ขณะนี้ไปจนถึงระยะเวลานาน 10 ปี และเก็บความร้อนไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า

ตัวทำลายโอโซนดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมาก นอกจากอากาศบนโลกจะร้อนขึ้นและสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ จะตามมาอีกมาก การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองเพื่อมีชีวิตรอด ก็ต้องแสวงหากันอีก นอกจากนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชและสัตว์ก็มากด้วย ระบบชีวิตของมันต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง ถึงขั้นสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาจากขั้วโลกกำลังละลายลงมา สู่ทวีปยุโรป และดินแดนที่มนุษย์ อาศัยอยู่ วิเคราะห์กันว่าบริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะ สูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น

หากว่ากันแล้วมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวทำลายโอโซน แต่จะบอกว่าใคร ปล่อยมากปล่อยน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลบ้านของตัวเองว่า จุดไหนที่ปล่อยสารพิษทำลายโอโซนต้องช่วยกันทำให้ลดลง เพื่อจะได้อยู่ในโลกนี้ได้ยาวนาน

แต่สำหรับพวกเราแล้ว สิ่งที่น่าจะทำกันได้ อย่างเช่น การลดการใช้ สารซีเอฟซีที่มีอยู่ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น เครื่องปรับอากาศคือ การใช้แปรงทาสีแทนที่จะใช้กระป๋องฉีดสเปรย์ ใช้เครื่องปรับอากาศ เท่าที่จำเป็นแล้วหันมาใช้พัดลม เปิดหน้าต่างและสวม เสื้อผ้าบางๆ นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช้แล้ว ก็จะต้องมีวิธีการทำลายที่ดี เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารซีเอฟซี สู่ชั้นบรรยากาศ

สำหรับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์ ทำได้โดยใช้รถรวมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันครั้งละหลายๆ คนหรือที่รัฐบาลโดยสพช. กำลังรณรงค์กันอยู่ ขณะนี้คือ CAR POOL การขับขี่ยานพาหนะที่ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง การสัญจรโดยการเดิน หรือเดินทางโดยรถจักรยาน หรือโดยสารรถประจำทาง

การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัด โดยธรรมชาติน้อยลง การใช้เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน ทำบ้านให้ปลอดโปร่ง ใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และลม ทำให้ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงาน และการผลิตกระแสไฟฟ้าทำให้ปล่อยคาร์บอน-ไดออกไซด์ออกมาน้อยลง

นอกจากนี้ การป้องกันการปล่อยมีเทนออกสู่บรรยากาศทำได้โดย ลดปริมาณขยะและนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดการเผาต้นไม้ในป่า และตามทุ่ง นอกจากนี้ยังควรพยายามที่จะนำมีเทนที่ เกิดจากการถมขยะ และการทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเป็นก๊าซที่เก็บความร้อนบนโลก ยิ่งมีก๊าซมากก็จะเก็บความร้อนไว้มาก

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
งานวิจัยเนื้อหากว่า 1,000 หน้าจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คน ว่ากรณีภาวะโลกร้อนจะ แตกต่างกันในแต่ละประเทศแต่ละส่วนของโลก

1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุก ทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง

ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด

ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปร ปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก

แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์

นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก

สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม
หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรง
และมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล

นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท

รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทราย จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม

ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ
ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล

อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า

ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้

3. ผลกระทบด้านสุขภาพ
ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม รากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์ แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง

จะป้องกันได้อย่างไร

ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้
1.  ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้น
เป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
ให้ เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูก ในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้

2. ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำ
ผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึง ระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่า ไฟฟ้า
แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่

3.  ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด เช่น เพิ่มความร้อน
ของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้ งาน
ปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่   หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง
อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก

4.  นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ
จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย

5.  รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์      ต่างๆ
ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป

6.  ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ
เช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง
รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว และ

7. ทดลองเดินให้มากที่สุด


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://www.siamhealthy.net
 

Google